วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 3


ให้นักศึกษาเนื้อหาพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ

1.พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542

2.พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545

3.พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553

4.ให้ศึกษา PowerPoint

5.หลังจากนักศึกษาได้ศึกษาเนื้อหาในบทเรียนนี้แล้วให้นักเรียนตอบคำถาม

   1. ท่านคิดอย่างไร ถ้ารัฐธรรมนูณคือกฎหมายแม่บท และพระราชบัญญัติน่าจะเป็นอะไร จงอธิบายให้เหตุผล
                ตอบ พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล เพราะคนเราทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคนปกติ หรือคนพิการก็มีสิทธิและเสรีภาพที่เท่าเทียมกันในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะทางด้านการศึกษา

   2. ความมุ่งหมายในการจัดการศึกษากำหนดไว้อย่างไรบ้าง จงอธิบาย
                ตอบ การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่รวมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
                               
   3. หลักในการจัดการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
                ตอบ  การจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้
                                1. เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
                                2. ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
                                3. การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

   4. หลักในการจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
                ตอบ การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา ให้ยึดหลักดังนี้
                                1. มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
                                2. มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                                3. มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา
                                4. มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู คณอาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา และการพัฒนาครู คณาอาจารย์ และบุคคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
                                5. ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา
                                6. การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถานบันสังคมอื่น

   5. สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษาที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
                ตอบ  การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐบาลต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
                         การจัดการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพ หรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ
                         การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษ ต้องจัดด้วยรูปแบบที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคลนั้น

   6. ระบบการศึกษาของไทยในปัจจุบันนี้มีกี่ระบบอะไรบ้าง จงอธิบาย
                ตอบ ระบบการศึกษาของไทยในปัจจุบันนี้มี 3 ระบบ ดังนี้
                                1. การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
                                2. การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลัดสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
                                3. การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ หรือแหล่งความรู้อื่น ๆ

   7. ท่านสามารถนำแนวการจัดการศึกษา ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างไร
                ตอบ สามารถนำแนวการจัดการศึกษา ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้ไปสู่การปฏิบัติได้ดังนี้
                                1. จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
                                2. ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
                                3.จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็นทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
                                4.จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกันรวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา
                                5.ส่งเสริม สนับสนุน ให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนและอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้  รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ
                                6.จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่  มีการประสานความร่วมมือกับบิดา มารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ

   8. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 มีประเด็นใดบ้างและเหตุผลที่สำคัญในการแก้ไขคืออะไร    
                ตอบ การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษา โดยคำนึงถึงระดับของการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวนสถานศึกษา จำนวนประชากร วัฒนธรรม และความเหมาะสมด้านอื่นด้วย เว้นแต่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษา ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของสภาการศึกษา มีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา กำหนดเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน แบ่งเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในกรณีที่สถานศึกษาใดจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา การกำหนดให้สถานศึกษาแห่งนั้นอยู่ในเขตพื้นที่การศึกษาใด ให้ยึดระดับการศึกษาของสถานศึกษานั้น เป็นสำคัญ ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                       ด้วยเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วยการศึกษาระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา ซึ่งมีระบบการบริหารและการจัดการศึกษาของทั้งสองระดับรวมอยู่ในความรับผิดชอบของแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ทำให้การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเกิดความไม่คล่องตัวและเกิดปัญหาการพัฒนาการศึกษา สมควรแยกเขตพื้นที่การศึกษาออกเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เพื่อให้การบริหารและการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพ อันจะเป็นการพัฒนาการศึกษาแก่นักเรียนในช่วงชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาให้สัมฤทธิผลและมีคุณภาพยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ 

   9. การที่กฎหมายกำหนดให้สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมีฐานะเป็นนิติบุคคลท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
                ตอบ เห็นด้วยกับการที่กฎหมายกำหนดให้สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมีฐานะเป็นนิติบุคคลเพราะ การกระจายอำนาจตามรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานการกระจายอำนาจและความรับผิดชอบจากผู้บริหารสถานศึกษาไปยังบุคลากรที่รับผิดชอบแต่ละฝ่ายงาน  โดยให้ผู้รับผิดชอบมีอิสระและคล่องตัวในการตัดสินใจในการดำเนินงานทั้งฝ่ายงานบริหารวิชาการ  ฝ่ายงานบริหาร งบประมาณ ฝ่ายงานบริหารบุคคล   ฝ่ายงานบริหารทั่วไป  เป็นการจัดการศึกษาโดยยึดหลักการกระจายอำนาจ  หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมและหลักการบริหารจัดการที่ดี  ดำเนินในรูปของการเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผน กระบวนการปฏิบัติ  กระบวนการตรวจสอบและกระบวนการปรับปรุงแก้ไขเพื่อพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการจัดการการศึกษา

   10. การที่กฎหมายกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีสิทธิจัดการศึกษาในระดับใด ระดับหนึ่ง หรือทุกระดับตามความพร้อม ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
                ตอบ เห็นด้วย เพราะเราควรส่งเสริมให้คนทุกคนมีส่วนในการศึกษา คนในชุมชนควรได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง เพื่อส่งเสริมศักยภาพให้ชุมชนนั้นๆแข็งแรงและมีความรู้ และกรที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษานั้น ดิฉันคิดว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะได้เป็นส่วนหนึ่งในการสอบถามความต้องการของประชาชนเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการเรียน เพื่อการศึกษาเหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคนและชุมชน และมีหน้าที่ในการประสานและส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถจัดการศึกษา สอดคล้องกับนโยบายและได้มาตรฐานการศึกษา รวมทั้งการเสนอแนะการจัดสรรงบประมาณอุดหนุนการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยอาศัยความต้องการภายในท้องถิ่น ความพร้อม และความเหมาะสม

   11. หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
                ตอบ จากความหมายของการประกันคุณภาพภายใน จะเป็นการประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
         1) การประกันคุณภาพภายในให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา และเป็นหน้าที่ของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา ที่ต้องดำเนินการอย่างมีระบบและต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงปรัชญา หลักการ วิสัยทัศน์ พันธกิจ และภารกิจ ของสถานศึกษาที่กำหนดไว้
         2) จัดให้มีกลุ่ม ฝ่ายหรือคณะกรรมการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายและผู้รับบริการ เพื่อการพัฒนาคุณภาพให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน
         3) พัฒนามาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาเพิ่มในส่วนที่เป็นลักษณะเฉพาะของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับท้องถิ่น
         4) จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพและแผนปฏิบัติการของสถานศึกษาและดำเนินงานตามแผนดังกล่าว
         5) ดำเนินการตรวจสอบ ติดตามเพื่อการพัฒนาคุณภาพให้เป็นไปตามเป้าหมายและมาตรฐานการศึกษา
         6) จัดทำรายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเสนอหน่วยงานต้นสังกัด ภาคีเครือข่ายและเผยแพร่ต่อสาธารณชน
         7) รายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาต่อคณะกรรมการสถานศึกษา และมีการกำหนดมาตรการร่วมกันในการพัฒนาสถานศึกษาไปสู่มาตรฐานการศึกษาที่กำหนด

   12. การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งรัฐและเอกชน ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
                ตอบ เห็นด้วย การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งรัฐและเอกชน ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ เนื่องจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ กำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ แต่ยังมีหลายหน่วยงาน สถานศึกษา ที่ยังมีความจำเป็นต้องใช้บุคลากรที่ยังไม่มีคุณสมบัติในการขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามมาตรฐานที่คุรุสภากำหนด จึงมีการกำหนดแนวทางให้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้ กรณีสถานศึกษามีความจำเป็นต้องจ้างบุคคลที่ยังไม่มีมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๗ และข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยคณะกรรมการคุรุสภาอนุมัติเป็นหลักการ มอบให้เลขาธิการคุรุสภาอนุญาตให้ผู้ขอประกอบวิชาชีพทางการศึกษาโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบ ได้คราวละ ๒ ปี โดยมีเงื่อนไขให้ผู้ได้รับอนุญาตจะต้องพัฒนาตนเองให้มีคุณสมบัติตาม ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๘เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพต่อไป 
 
   13. ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง
                ตอบ หากมีการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่น โดยให้ผู้ปกครอง ชาวบ้าน องค์กรเอกชน รัฐวิสาหกิจต่างๆ สถาบันศาสนา และสถาบันอื่นๆเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดหาแนวทางเพื่อนำทรัพยากรในท้องถิ่นมาใช้ในการศึกษาให้ได้ประโยชน์สูงสุดและไม่สิ้นเปลืองทรัพยากรโดยใช้อย่างคุ้มค่าและมีการปลูกจิตสำนึกให้ทุกคนเห็นค่าของทรัพยากรในท้องถิ่น และจะนำหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารจัดการโรงเรียนและท้องถิ่นเพื่อให้ทุกคนอยู่อย่างมีความสุขที่เป็นไปตาม 3 ห่วง   เงื่อนไขของในหลวง

   14. ท่านมีแนวทางในการพัฒนาสื่อ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
                ตอบ การใช้สื่อแต่ละอย่างต้องคำนึงถึงประโยชน์และความคุ้มค่ามากที่สุด ส่งเสริมให้โรงเรียนมีการใช้สื่อที่หลากหลายและทันสมัย สนับสนุนให้ผู้เรียนรู้จักเลือกใช้สื่อที่มีประโยชน์และเหมาะสมต่อการศึกษา ถ้าสื่อสิ่งไหนที่พอจะมีอยู่แล้วก็ให้บูรณาการสื่อนั้นให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด และต้องรู้จักปรับสื่อให้เหมาะสมกับเนื้อหาการสอน

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 2


ให้นักศึกษาอ่าน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 แล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้

                1.ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรที่น่าสนใจ
                ตอบ การร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีสาระสำคัญคือ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ร่วมกันของประชาชนชาวไทย  และให้ประชาชนมีบทบาทในการมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ และตรวจสอบการทำงานของรัฐ โดยการให้ประชาชนชาวไทยที่มีสิทธิเลือกตั้งออกเสียงในการเห็นชอบของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้

                2.สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง
                ตอบ หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
                              ส่วนที่ 8 สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
                              มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้อง จัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
                                ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพหรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบากต้องได้รับสิทธิตามวรรค หนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐ เพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น
                                การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
                              มาตรา 50 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ
                                การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครองทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน

                3.ประด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง
                ตอบ       1. คณะองคมนตรี พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งประธานองคมนตรีคนหนึ่ง และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 18 คนคณะองคมนตรี รวมไม่เกิน 19 คน
                           2. คณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดิน ต้องชี้แจงนโยบายที่จะดำเนินการต่อรัฐสภาและต้องจัดทำรายงานแสดงผลการดำเนิน การเสนอต่อรัฐสภาปีละ 1 ครั้ง
                            3. สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิก จำนวน 480 คน
                                    แบบแบ่งเขต 400 คน
                                    แบบสัดส่วน 80 คน
                                จังหวัดใดมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ไม่เกิน 3 คน ให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง แต่ถ้ามีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เกิน 3 คนให้แบ่งเขตจังหวัดออกเป็นเขตเลือกตั้งแต่ละเขตมีสมาชิกได้ 3 คน
                             4. บุคคลต่อไปนี้เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
                                    -  มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผุ้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
                                    -  อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
                                    -  มีชื่อในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง
                             5. บุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
                                    -  เป็นภิกษุสามเณร นักพรต นักบวช
                                   -  อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
                                    -  ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
                                    -  วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ
                             6. ลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร* ติดยาเสพติดให้โทษ ล้มละลายหรือเคยล้มละลาย เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกโดยพ้นโทษมายังไม่เกิน 5 ปี เคยถูกไล่ออก ปลดออกหรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ พ้นจากการจากการเป็น สมาชิกวุฒิสภายังไม่เกิน 2 ปี อายุของสภาผู้แทนราษฎรมีกำหนดคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง หมดวาระเลือกตั้งภายใน 45 วัน

                4.ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้นักศึกษาบอกเหตุผลประกอบการอภิปราย
                ตอบ  เพราะว่ารัฐธรรมนูญคือกฏหมายสูงสุดในประเทศไทย เราเป็นประชาชนคนไทย ควรจะมีความรู้ความเข้าใจในกฏหมายสูงสุดของประเทศ และเนื่องจากการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญเป็นสิ่งสำคัญในการใช้ชีวิตประจำวันของคนเราทุกคน และยังเป็นข้อตกลง บังคับให้ประชานชนชาวไทยทำตาม และปฎิบัติ เพื่อให้เกิดการมีระเบียบวินัย ความสามัคคีในการอยู่ร่วมกันในสังคม อีกทั้งเพื่อให้ชาวไทยอยุ่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข และสันติ

                5.นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่มจึงคัดค้าน ขอให้นักศึกษาบอกถึงเหตุผลที่จะต้องแก้ไข
                 ตอบ  
การที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นจะต้องแก้ไขเพื่อประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ เพราะถ้าแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วทำให้เกิดผลเสียต่อประชาชนก็ไม่ควรที่จะแก้ไข เพราะในการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และความมั่นคงของประเทศเป็นสำคัญ  ไม่ใช่เพื่อประโยชน์แก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น  
                        ส่วนประชาชนบางกลุ่มที่คัดค้านนั้นเป็นสิทธิส่วนบุคคล ที่จะสามารถกระทำได้ 
                 6.ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร์ สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร มีความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ขอให้นักศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว
                ตอบ  ในปัจจุบันอำนาจทั้ง 3 อำนาจกำลังประสบกับปัญหาเรื่องต่าง ๆ มากมาย ทั้งมีการขัดแย้งกัน มีการทุจริตคอรัปชัน เห็นแก่ผลประโยชน์ของตนเอง การบริหารบ้านเมืองอย่างไม่มีประสิทธิภาพ   และอื่น ๆ อีก จากปัญหาต่างๆมากมาย  ทำให้บ้านเมืองไม่มีการพัฒนาขึ้น  เศรษฐกิจถดถอยลง

กิจกรรมที่ 1


ให้นักศึกษาค้นหาคำนิยามที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายหาให้มากที่สุดแล้วเขียนลงในกิจกรรมที่ 1 ของนักศึกษา อย่างน้อยคนละ 10 ชื่อ

 ผู้แทนโดยชอบธรรม
บุคคลผู้ได้รับการแต่งตั้งจากศาลให้มีสิทธิตามกฎหมายที่จะกระทำการแทนบุคคลไร้ความสามารถ หรือพูดอีกอย่างก็หมายถึง เป็นบุคคลที่จะต้องเป็นผู้ให้คำอนุญาตหรือให้ความยินยอมแก่บุคคลไร้ความสามารถในอันที่จะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด

หักกลบลบหนี้
การที่คนสองคนต่างมีฐานะเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ซึ่งกันและกัน และหนี้นั้นเป็นหนี้ที่ถึงกำหนดชำระแล้ว และคนใดคนหนึ่งแสดงเจตนาต่ออีกคนหนึ่งขอหักกลบลบหนี้เพื่อจะได้พ้นจากหนี้ของตน เช่น ดำเป็นหนี้แดงอยู่ 20 บาท และแดงก็เป็นหนี้ดำอยู่ 15 บาท ทั้งสองคนจึงตกลงหักกลบลบหนี้กัน ดังนั้น ดำยังคงต้องใช้หนี้แดงอีกเพียง 5 บาท

คำกล่าวโทษ
การที่บุคคลซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหาย ได้เป็นผู้กล่าวหรือแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ว่ามีการกระทำผิดอย่างหนึ่งอย่างใดขึ้นโดยจะรู้ตัวผู้กระทำผิดหรือไม่รู้ก็ตาม

แจ้งความเท็จ
การนำเอาข้อเท็จจริงมาแจ้งต่อเจ้าพนักงาน โดยอาจแจ้งความด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ตาม ไม่ว่าการแจ้งนั้นจะมาแจ้งโดยตรงหรือแจ้งโดยการตอบคำถามของเจ้าพนักงาน ทั้งนี้ ผู้แจ้งจะต้องรู้ว่าข้อความที่ตนแจ้งนั้นเป็นเท็จ ถ้าผู้แจ้งไม่รู้ว่าข้อความนั้นเป็นเท็จก็ไม่มีความผิด

โมฆะกรรม
การกระทำที่สูญเปล่า ส่วนใหญ่เป็นเรื่องการทำนิติกรรมต่างๆ นิติกรรมที่ทำนั้นเสียเปล่าไม่เกิดผลในทางกฎหมาย เท่ากับว่านิติกรรมนั้นไม่ได้ทำขึ้นมาเลย ใครเป็นผู้มีส่วนได้เสียย่อมกล่าวอ้างการเป็นโมฆะกรรมได้เสมอ เช่น นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามตามกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัย หรือขัดต่อศีลธรรมอันดี หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อย เช่น ทำสัญญาจ้างฆ่าคน , ทำสัญญาจ้างให้เหาะให้ดู ฯลฯ

โมฆียกรรม
การทำนิติกรรมที่สมบูรณ์ซึ่งมีผลบังคับได้ตามกฎหมายจนกว่าจะถูกบอกล้าง เป็นนิติกรรมที่ทำขึ้นโดยมีเหตุบกพร่องบางอย่างในเรื่องความสามารถ หรือในเรื่องการแสดงเจตนาอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่เหตุบกพร่องไม่ได้ทำให้นิติกรรมสูญเปล่า นิติกรรมนั้นคงใช้ได้ตามกฎหมายตลอดไปจนกว่าจะมีการบอกล้าง เมื่อบอกล้างแล้วจึงถือว่านิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ เสียเปล่ามาตั้งแต่แรก แต่ถ้าไม่ได้มีการบอกล้างจนล่วงเลยกำหนดตามกฎหมาย หรือมีการให้สัตยาบันรับรู้ในนิติกรรมนั้น นิติกรรมนั้นก็เป็นอันสมบูรณ์

นิติกรรมอำพราง

การทำนิติกรรมขึ้นสองอย่าง อย่างหนึ่งทำขึ้นโดยมีเจตนาเพียงเพื่อปกปิดหรืออำพรางนิติกรรมอีกอย่างหนึ่งซึ่งไม่ต้องการให้เป็นที่เปิดเผย ผลในทางกฎหมาย นิติกรรมอย่างแรกจะเป็นโมฆะ เพราะเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้ร่วมคิดกันระหว่างคู่กรณี ส่วนนิติกรรมอย่างหลังที่ถูกอำพรางไว้จะมีผลในทางกฎหมาย

ความผิดหลายบท
การกระทำที่เป็นกรรมเดียวแต่เป็นความผิดตามกฎหมายหลายบท ซึ่งผู้กระทำต้องรับโทษตามกฎหมายบทที่หนักที่สุด เช่น เอาหินขว้างใส่บ้านจนกระจกแตก และหินไปโดนคนในบ้านกะโหลกแตกตายอีกด้วย เป็นการทำผิดกฎหมายสองบทคือ เจตนาทำให้เสียทรัพย์ และฆ่าคนตาย เช่นนี้ผู้กระทำต้องรับโทษฐานฆ่าคนตาย ซึ่งมีโทษหนักกว่า

หมิ่นประมาท
ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง

พยาน
เป็นหลักฐานที่สามารถใช้นำสืบข้อเท็จจริง ประกอบกับการดำเนินคดีทางศาลและมีอยู่ สามประเภทได้แก่ พยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ

นิภารัตน์ จงจิต. (2555). การจัดการความรู้ (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://www.thailaws.com/ [5 พฤศจิกายน 2555].



วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

แนะนำตนเอง


นางสาวนิภารัตน์ จงจิต
รหัสนักศึกษา 5311103093
หลักสูตร คณิตศาสตร์
คณะครุศาสตร์

ประวัติการศึกษา
- ระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนวัดมะปรางงาม
- ระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนละอายพิทยานุสรณ์
- ระดับอุดมศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

ปรัชญา
ทำวันนี้ให้ดีที่สุด แล้วอนาคตจะดีเอง